จอห์นเมอร์เท่อห์ ชายผู้จริงจังกับการทำงานสู่ภารกิจคืนชีพ แมนยู
จอห์นเมอร์เท่อห์ ถึงแม้ว่า อเล็กซ์ เตลลิส แบ็กซ้ายชาวบราซิเลียนจะโดนมองว่าถูก แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
จอห์นเมอร์เท่อห์ ดึงมาอยู่กับทีมเพียงเพื่อเป็นอะไหล่ของ ลุค ชอว์ และเป็นการกระตุ้น ชอว์ ว่าอาจจะโดนแย่งตำแหน่งได้หากไม่พัฒนาฝีเท้า แต่มันก็ทำให้ “เร้ด อาร์มี่” รู้สึกพอใจนิดหน่อย เพราะเขาถือเป็นการเสริมทัพรายที่ 2 ของทีมในช่วงซัมเมอร์ที่ผ่านมา
จอห์นเมอร์เท่อห์ หลังจากที่ก่อนหน้านั้น แมนฯ ยูไนเต็ด ได้ตัว ดอนนี่ ฟาน เดอ เบ็ค มาร่วมทัพแค่คนเดียว
จอห์นเมอร์เท่อห์ ด้วยเหตุนี้ ตอนที่ เตลลิส เดินทางมาถึง แคร์ริงตัน ศูนย์ฝึกซ้อมของ แมนฯ ยูไนเต็ด เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ที่ผ่านมานั้น เหล่าแฟนบอลบางส่วนของทีมก็ตื่นเต้นมากๆ และให้ความสนใจเขาเต็มที่ โดยที่ไม่ได้สนคนที่ขับรถมาส่งเขาที่สนามซ้อมเลย ซึ่งที่จริงมันก็ไม่แปลกอะไรที่หลายคนจะเมินคนขับรถคนนั้น เพราะคงนึกว่าเขาเป็นคนขับรถทั่วไป
อย่างไรก็ตาม ที่จริงแล้วคนขับรถคนนั้นคือคนที่กลายเป็นหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ของ แมนฯ ยูไนเต็ด เพราะเขาคือ จอห์น เมอร์เท่อห์ ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการฟุตบอลคนแรกของสโมสรเมื่อวันพุธที่ 10 มีนาคม ที่ผ่านมา
แมนฯ ยูไนเต็ด คิดที่จะหาคนมาเป็นผอ.ฟุตบอลมานานแล้ว เพราะมองว่าที่ผ่านมาการประสานงานระหว่างฝ่ายฟุตบอลกับฝ่ายบริหารมันไม่ราบรื่นเท่าไหร่ แถมการเสริมทัพก็เคยดูน่าผิดหวังในช่วงหลายฤดูกาลก่อน ซึ่งผอ.ฟุตบอลที่ดีจะสามารถช่วยทีมในด้านนี้ได้ เหมือนที่เกิดขึ้นกับหลายสโมสรในทวีปยุโรป เพียงแต่กระบวนการหาคนที่เหมาะสมของ แมนฯ ยูไนเต็ด กินเวลานานมากจนทำให้บางคนถึงขั้นเคยคิดว่า แมนฯ ยูไนเต็ด ล้มแผนในเรื่องนี้ไปแล้ว
ที่จริง แมนฯ ยูไนเต็ด เคยมีข่าวว่าเล็งคนชื่อดังเอาไว้หลายคนสำหรับการให้มาเป็นผอ.ฟุตบอลของทีมด้วย
อย่างเช่น เอ็ดวิน ฟาน เดอร์ ซาร์, ราล์ฟ รังนิค, ริโอ เฟอร์ดินานด์ และ ปาทริซ เอวร่า เป็นต้น แต่สุดท้ายพวกเขาก็เลือก เมอร์เท่อห์ โดยหลายคนอาจจะไม่คุ้นชื่อของเขา แต่ที่จริงเจ้าตัวอยู่กับทีมมาตั้งแต่ปี 2013 และถึงขั้นเคยได้รับการเลื่อนขั้นไปเป็นหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการด้านฟุตบอลในปี 2016 ด้วย ก่อนที่ล่าสุดจะได้เป็นผอ.ฟุตบอลของทีม
หากถามว่าทำไม เมอร์เท่อห์ ถึงลงทุนทำขนาดนั้น ส่วนหนึ่งก็คงจะตอบได้ว่ามันเป็นเพราะเขาจริงจังกับการทำงานสุดๆ และให้ความสำคัญในการสร้างความประทับใจกับนักเตะที่ดึงมาร่วมทีม เหมือนอย่างที่ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ตำนานกุนซือของ แมนฯ ยูไนเต็ด เคยลงทุนไปรับ ดิมิทาร์ เบอร์บาตอฟ ถึงสนามบินมาแล้ว
นอกจากกรณีของ เตลลิส นั้น หากย้อนกลับไปในปี 2014 เมอร์ทัฟ ก็เคยเดินทางไปยังโรงพยาบาลบริดจ์วอเตอร์พร้อมกับ ดาเล่ย์ บลินด์ และ มาร์กอส โรโฮ เพื่อเป็นเพื่อนของทั้งคู่ในตอนที่พวกเขาไปทำการตรวจร่างกายก่อนที่ทั้ง 2 คนจะเซ็นสัญญากับ แมนฯ ยูไนเต็ด เหมือนกัน และเมื่อปี 2018 เขาก็ลงทุนไปรับ อเล็กซิส ซานเชซ ถึงสนามบินของเมืองแมนเชสเตอร์ในตอนกลางคืนด้วยตัวเองเลยหลังจากที่อีกฝ่ายย้ายมาจาก อาร์เซน่อล
ความจริงจังของ เมอร์เท่อห์ ไม่ได้มีแค่กับนักเตะระดับทีมชุดใหญ่ เขาเคยหนีบ มาติเยอ แซคิงเกอร์ แมวมองระดับเยาวชนชาวฝรั่งเศสไปกับเขาเพื่อที่จะไปดูฟอร์มของ ฮานนิบาล เมจบรี้ ด้วยตาของตัวเองมาแล้ว ก่อนที่จะตามจีบเจ้าหนูวัย 16 ปีอย่างหนักจนสุดท้ายก็ได้เด็กคนนั้นมาร่วมทัพ ก่อนที่ตอนนี้ เมจบรี้ จะเป็นหนึ่งในดาวรุ่งที่ทำผลงานได้โดดเด่นมากที่สุดคนหนึ่งในทีมเยาวชนของ แมนฯ ยูไนเต็ด
ส่วนในด้านการเสริมทัพนั้น หนึ่งในตัวอย่างที่บอกได้ว่า เมอร์เท่อห์ มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้ก็คือเขาเป็นคนเสาะหานักเตะแต่ละคนที่จะมาเล่นให้ทีมหญิงของ แมนฯ ยูไนเต็ด และมันก็มีส่วนทำให้ทีมหญิงของสโมสรขึ้นมาเล่นในลีกสูงสุดได้ในปี 2019 หลังจากที่เพิ่งก่อตั้งทีมในปีเดียว และในซีซั่นนี้พวกเธอก็กำลังเป็นที่ 3 ของลีกสูงสุดด้วย
นอกจากนี้ ว่ากันว่า เมอร์เท่อห์ ยังเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทำโปรเจ็กต์แบบพิเศษ อย่างเช่นการสร้างยุทธศาสตร์ด้านข้อมูลแบบวิทยาศาสตร์คล้ายๆ กับที่ ลิเวอร์พูล กับ แมนเชสเตอร์ ซิตี้ กำลังใช้อยู่ในตอนนี้ด้วย แถมเขายังสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ดีจนทำให้คนในสโมสรตั้งฉายาให้เขาเล่นๆ ว่า “ฟิกเซอร์” (Fixer) ซึ่งแปลเป็นไทยได้ประมาณว่า “ช่างซ่อม” เลย
ขณะเดียวกัน เมอร์เท่อห์ เป็นคนที่วางแนวทางการเสาะหาแข้งเยาวชนอย่างเป็นระบบด้วย โดยเมื่อปี 2019 เขาเคยให้สัมภาษณ์ว่า “เราจะเริ่มเสาะหานักเตะเยาวชนตั้งแต่รุ่นอายุ 7 ขวบ โดยสำหรับทีมรุ่นอายุไม่เกิน 9 ขวบนั้น เราจะเน้นไปที่การเสาะหาเฉพาะนักเตะที่อยู่ในทางตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษเป็นหลัก (แมนฯ ยูไนเต็ด อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอังกฤษเช่นกัน)”
“ในรุ่นที่อายุสูงขึ้นนั้นเราก็จะขยายขอบเขตออกไป เราจะเริ่มเสาะหานักเตะเยาวชนฝีเท้าดีแบบทั่วทั้งสหราชอาณาจักร ไม่ใช่แค่เฉพาะทางตะวันตกเฉียงเหนืออีกต่อไป และในรุ่นอายุ 16-17 ปีเราก็จะเริ่มมองหานักเตะชั้นยอดจากทั่วทวีปยุโรป”
“ผมคิดว่าพรสวรรค์มันไม่มีทางเกิดขึ้นได้หากปราศจากการทำงานอย่างขยันขันแข็ง เวลาที่เราพัฒนานักเตะดาวรุ่งน่ะเราจะพยายามมองหาคุณสมบัติที่เหมาะสม ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นคนที่เก่งจนเข้าขั้นแก้ปัญหาต่างๆ ได้ หรือเป็นคนที่ชอบเข้าสกัดอย่างหนักหน่วง เราก็จะลองดูว่าคนไหนที่มีคุณภาพหรือศักยภาพดีพอที่เราจะสามารถทำงานด้วยได้ในการพัฒนาระบบของเรา”
น่าจับตาดูว่าความขยันของเขาจะสามารถชุบชีวิตให้กับ แมนฯ ยูไนเต็ด ตามที่บอร์ดบริหารตั้งความคาดหวังเอาไว้ได้หรือไม่